วันศุกร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2553

เฉาก๊วย แก้ร้อนใน เครื่องดื่ม




เฉาก๊วยทำมาจาก
หญ้าชนิดหนึ่งในตระกูลเดียวกับมินต์ มีชื่อเรียกว่าอย่างเป็นทางการ ´Mesona chinensis´ ส่วนคนไทยเราจะเรียกหญ้าชนิดนี้ว่า ´หญ้าเฉาก๊วย´ หญ้าเฉาก๊วยสามารถพบได้มากในประเทศจีน ดังนั้น จึงไม่แปลกที่ขนมหวานชนิดนี้จะมีที่มาจากเมืองจีน และมีชื่อเรียกเป็นภาษาจีนทว่า ในหมู่ของคนจีนเอง
ก็จะเรียกเจ้าขนมหวานชนิดนี้แตกต่างกันออกไปตามภาษาถิ่น เช่น ในภาษาจีนกลางจะเรียกว่า ´เหลียงเฝิ่น´ หรือ ´เซียนเฉ่า´ ที่แปลว่าหญ้าเทวดา ขณะที่ชาวมาเลย์จะเรียกว่า ´จินเจา´ เป็นต้น
เฉาก๊วย เป็นผลผลิตต่อเนื่องจากการแปรรูปต้นเฉาก๊วย ซึ่งเป็นพืชในวงศ์ Lamiaceae (วงศ์มิ้นท์) วงศ์เดียวกับ สะระแหน่ กะเพรา โหระพา แมงลัก และ ยี่หร่า
วิธีทำเฉาก๊วยอย่างง่ายๆ คือ นำต้นเฉาก๊วยแห้งมาต้ม จนยางไม้และแพคตินละลายออกมาได้น้ำสีน้ำตาลดำ เรียกว่า ชาเฉาก๊วย จากนั้นก็กรองเอาแต่น้ำ แล้วนำไปผสมกับแป้งพืช เพื่อให้เฉาก๊วยคงตัวเป็นเจลลี่ ซึ่งส่วนประกอบนั้น แต่ละเจ้าจะมีสูตรของตนเอง วิธีที่เป็นต้นตำรับโบราณนั้น นิยมผสมกับแป้งท้าวยายม่อม และแป้งมันสำปะหลัง อัตราส่วนตามความเหมาะสม โดยแป้งมันจะทำให้เนื้อเฉาก๊วยนิ่ม (ใส่มากจะเหลว) ส่วนแป้งท้าวยายม่อมจะให้เนื้อเฉาก๊วยคงรูปได้นาน อาจปรับปรุงโดยใส่แป้งข้าวเจ้าเพื่อให้แข็งตัวขึ้น หรือเพิ่มแป้งข้าวเหนียวให้มีความหนุบหนับ หรือใส่ส่วนผสมอื่นๆ ก็ได้ ปัจจุบัน มีผู้ค้าบางรายใส่สีผสมอาหารให้สีดำเข้มบ้าง ใส่วุ้น-เจลาติน เพื่อประหยัดต้นทุนก็มี
การรับประทานเฉาก๊วยแต่เดิมชาวจีนจะกินกับน้ำตาลทรายแดง โดยเอามาคลุกกับน้ำตาลให้เข้ากัน คนไทยนำมาดัดแปลงโดยหั่นเป็นชิ้นๆ ใส่ในน้ำเชื่อมและน้ำแข็ง กินกับข้าวโพด ลูกชิด หรือลูกตาลเชื่อมก็ได้[1]


สรรพคุณ
เช่นเดียวกับพืชอื่นๆในวงศ์มิ้นท์ เฉาก๊วยมีสรรพคุณแก้ร้อนในกระหายน้ำ แต่เนื่องจากมีระดับของน้ำมันหอมระเหย และสารออกฤทธิ์ ในระดับที่ต่ำกว่าตระกูลกระเพราเป็นอย่างมาก จึงส่งผลให้เฉาก๊วยไม่มีฤทธิ์ขับลม หรือบรรเทาปวดลดความดัน บำรุงเลือด ลดไข้ ระบบขับถ่ายดี ขับปัสสาวะ แก้อ่อนเพลีย จะช่วยลดความดันในร่างกาย แก้ร้อนใน กระหายน้ำ